การเลือกซื้อลำโพง
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อลำโพงมาฟังสักคู่หนึ่ง ควรจะเจียดเวลาสักหน่อยเพื่อฟังเสียงจากลำโพงหลายๆคู่ โดนใช้เพลงที่คุ้นหูหรือเพลงที่ชอบไปฟังด้วยก็จะดี จะได้บอกได้เลยว่าลำโพงคู่ไหนที่ให้เสียงที่ถูกใจ ประสบการณ์ในการฟังการแสดงสดก็มีประโยชน์มากในการพิจารณาลำโพง ลำโพงที่ดีควรจะให้เสียงเป็นธรรมชาติ และฟังนานๆได้สบาย ไม่เกิดอาการล้าหู อย่าฟังแบบรีบร้อน ควรใช้เวลากับมันพอสมควรก่อนตัดสินใจ
ชนิดของลำโพง
ลำโพงมีให้เลือกหลายชนิด เช่น ตั้งพื้น ตั้งบนขาตั้ง ตั้งบนหิ้ว แซทเทิลไลท์ฝังในผนัง ติดที่ฝาผนัง สามารถเลือกตามใจชอบ โดยทั่งไปลำโพงชนิดตั้งพื้น ตั้งบนขาตั้งและตั้งบนหิ้ง
จับคู่ลำโพงกับชุดเครื่องเสียงให้แมทซ์กัน
ลำโพงควรจะมีแอมป์หรือรีซีฟเวอร์ที่มีกำลังขับที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สมรรถนะที่ดีที่สุด ลำโพงบางรุ่นอาจจะต้องการกำลัง 30-100 วัตต์ เพื่อให้สามารถทำงานได้ดี ดังนั้นคุณต้องจำสเปคนี้ไว้ในการเลือกซื้อแอมป์
กำลังขับของแอมป์ที่มีหน่วยเป็นวัตต์ มักจะเกิดความสับสนและเข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ ที่มักเข้าใจว่าจำนวนวัตต์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความดัง บางคนเชื่อว่าการที่มีกำลังเพิ่ม 2 เท่าจะทำให้ลำโพงมีความดังสูงสุดเพิ่มขึ้น 2 เท่าด้วยเป็นการเข้าใจผิด ความจริงแล้วกำลังขับมีส่วนเกี่ยวข้องกับความดังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ปัจจัยหลักคือ 1.ประสิทธิภาพของลำโพง และ 2.ความสามารถของแอมป์ในการรับมือกับสัญญาณดนตรีที่มีระดับสูงสุด
ประสิทธิภาพลำโพง (Speaker Efficiency)
หรือที่ชอบเรียกว่า ความไวของลำโพง (Speaker Sensitivity) เป็นการวัดความดังของเสียงที่ออกมาจากลำโพง(มีหน่อยเป็นดีบี dB) เทียบกับขนาดของกำลังขับที่กำหนดไว้
ไดนามิคเรนจ์ (Dynamic Range)
วิธีที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจทำความเข้าใจไดนามิคของลำโพงก็คือการฟังการบรรเลงสด เช่น วงออร์เคสตร้า มีช่วงความดังจากค่อยสุดไปยังดังสุดที่กว้างมาก ช่วงระหว่างความดังนี้เรียกว่า ไดนามิคเรนจ์
ดีบีหรือเดซิเบล
มาจากสองคำคือ เดซิ(deci) กับ เบล(bel) เป็นหน่วยความดังของเสียง หูของคนเรามีความไวต่อความดังของเสียงในช่วง 0 ถึง 140 เดซิเบล
วัตต์
ในเรื่องเครื่องเสียงนั้น วัตต์จะบอกถึงกำลังขับของแอมป์ที่ส่งไปยังลำโพง ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังขับกับความดังของลำโพงไม่เป็นลิเนียร์
บทความจาก STEREO MAGAZINE ฉบับ 205
โดยผู้กองมวน