สภาพแวดล้อมของการฟัง

สภาพแวดล้อมของการฟัง Listening environment

เราคงเคยเห็น ภาพของนักเล่นเครื่องเสียง นั่งหลับตา ตัวตรง คอแข็ง ฟังเพลงตามงานแสดงเครื่องเสียงจนชินตา ดูเหมือนเขาจะทุ่มเทความสนใจ ทั้งหมดลงไปกับเสียงที่เกิดขึ้นตรงหน้า

ผมเคยกระซิบถามเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งมีมาดของนักฟังอย่างย่อหน้า ข้างบนนี้ว่า “เฮ้ย! คุณฟังอะไรกัน ตั้งนานสองนาน?”
ปรากฏว่าเขาตอบกลับมา “อย่าเอ็ดไป เดี๋ยวเขาจะดูถูกเอาว่าฟัง ไม่เป็น”
ผมเลยถึงบางอ้อว่า คนฟังเป็นต้องมีมาดอย่างนั้น ก็เลยถามต่อ
“ว่าแต่ว่าฟังอะไรออกไหม?”
“โอ้ย! เสียงรบกวนมากจะตาย ขนาดนั้น ใครจะฟังอะไรออก”
“อ้าว?”

การฟังในงานแสดงเครื่อง เสียงส่วนใหญ่จึงเป็นแค่ฟังพอเป็น แนวทางเท่านั้น สัญญาณรบกวนจาก เสียงความถี่ต่ำจากห้องข้าง ๆ จากเสียงพูดคุยจ้อกแจ้ก จอแจ รอบข้างที่เรียกว่า Ambient Noise มักดังเกินกว่า 60 dB ในระบบเครื่องเสียงชั้นดี ส่วนใหญ่มักฟังกันที่ไดนามิคเรนจ์ (คือช่วงระดับความดังระหว่างความดังต่ำ สุดกับสูงสุดที่เราได้ยิน ไม่ใช่ระดับความสุงสูงสุด ซึ่งเรียกกันว่า “Head room”) ประมาณ 90 dB ลองคิดดูง่าย ๆ ไดนามิคเรนจ์ระดับนี้เราต้องเร่งความดังขึ้นไปเท่าไร ในเมื่อระดับความดังต่ำสุดของเสียงดนตรีอยู่สูงกว่า 60 dB ฉะนั้นความดังสูงสุดที่ทำให้เรารับฟังไดนามิคเรนจ์ขนาด 90 dB ได้ ก็ต้องเป็น 150 dB ขึ้นไป! ความดังระดับนั้นลำโพง สำหรับใช้ในบ้านส่วนใหญ่จะถึงกาลอวสาน แต่ที่แน่ ๆ หูเรานั้นถึงกาลอวสาน ก่อน เพราะที่ระดับความดังแค่ 120 dB กว่าหูบางคนก็เริ่มเจ็บแสบแล้ว สรุปว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่เรา จะรับฟังคุณภาพเสียงจริง ๆ ของเครื่องหรือลำโพงจากสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนสูง ๆ ยิ่งทำให้เสียงรบกวนรอบข้างตำลงไปเท่าไร เท่ากับยิ่งเพิ่มไดนามิคเรนจ์ให้กับระบบเท่านั้น ย้อนกลับมาดูที่บ้านบ้าง ห้องฟังเพลงที่พิถีพิถันสักหน่อยคงจะเป็นห้องที่ปิด ปิดหน้าต่าง ปิดประตู ให้เรียบร้อย ประตูหน้าต่างกั้นไม่ให้เสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาทำให้ห้องเงียบในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็ป้องกันไม่ให้เสียงจากชุดเครื่องเสียงออกไปสู่ภายนอก

ส่วนเรื่องอคูสติกส์จะจัดการอย่างไร ต้องกลับไปอ่านอีกบทความครับ ความเงียบของสิ่งแวดล้อม ทำให้ฟังเพลงได้ไพเราะขึ้นไปอีกระดับหนึ่งสังเกตดูจากการฟังเพลงตอน กลางคืนสิครับ แต่จริง ๆ การฟังเพลงตอนค่อนดึกนั้น นอกจากเรื่องของความเงียบของเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านหรือคนอยู่ร่วมบ้านเดียวกันแล้ว มันยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาช่วยอีก เช่น ไฟเอซีที่สะอาดกว่า เพราะสัญญาณรบกวนที่เกิดจากจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าตอนกลางวัน หรือตอนเย็น ๆ หรือระดับแรงดันไฟ (Volt- age) ก็ราบเรียบไม่ขึ้นไม่ลงและไม่มากไม่น้อย ใกล้เคียงกับที่เครื่องต้องการ มากกว่า (ตอนเย็น ๆ หรือช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก ๆ การไฟฟ้าเขาจะบูสท์ระดับ Voltage ขึ้นมาสูงกว่าปกติ เพื่อให้มีแรง พอในการจ่ายกระแสไฟฟ้า) เป็นต้น ช่วงฟังเพลงพิถีพิถัน เอาจริง เอาจัง จับเป็นจับตาย ไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก ๆ เช่น เครื่องซักผ้า จักรเย็บ ผ้าไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า หรือเครื่องอื่น ๆ ท่ีมีสัญญาณรบกวนมาก ๆ

นักเล่นพิถีพิถันบางคนจะไม่ยอมฟังดนตรีขณะที่เพิ่งเปิดเครื่อง ต้องสัก 15-30 นาทีก่อน จึงจะกลับมานั่งฟังอีกที นิตยสาร What Hi-Fi? ของ ฝรั่งเขาแนะนำให้ เปิดสวิทซ์เครื่องทิ้งไว้ ตลอดก็ได้เพื่อที่จะเข้าถึงดนตรีได้ทันทีทันใด แต่เราไม่อยากแนะนำให้ทำขนาดนั้น เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสั้นลง อุปกรณ์บางตัวมีความร้อนสะสมค่อนข้างสูง แม้ไม่ถึงกับทำให้ลุกไหม้ได้ แต่ก็ทำให้อายุของอุปกรณ์แพสซีฟภายในวงจรมีอายุ สั้นลง ที่สำคัญ แม้เราจะเปิดสวิทช์เครื่องทิ้งไว้ (เฉย ๆ โดยไม่ได้เล่นเพลง) เมื่อเรามาเริมเล่นเริ่มฟัง เราก็ใช่ว่า จะได้ความพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เสียเมื่อไหร่ เพราะต้องรอลำโพงได้วอร์มอัพให้เข้าที่เข้าทางก่อน ลำโพงตัวใหญ่ ๆ หลาย ๆ ทาง ยิ่งต้องรอนาน เนื่องจากไดรเวอร์ขยับตัวน้อยกว่า เส้นสายก็ยึดติดขัดกว่า ยิ่งไปกว่านั้นลำโพงพวกนี้ มักใช้คาปาซิเตอร์ชนิดอิเลคไตรโลติคในครอสส์โอเวอร์คเน็ทเวิร์ค ซึ่งต้องรอเวลาให้สาร เคมีที่บรรจุไว้เปลี่ยนลักษณะเป็น เจลเหนียว ๆ ก่อนมันจึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ (ประมาณ 20 นาทีหรืออาจเป็นชั่วโมง ขึ้นกับคุณภาพของคาปาซิเตอร์)

ลำโพงทั้งเล็กทั้งใหญ่เปิดเล่นใหม่ ๆ เสียงจะไม่เพราะมักออกลักษณะ แข็ง ๆ ห้วน ๆ เสียงโดยรวมมัก ขาดความกลมกลืน กลางเป็นกลาง แหลมเป็นแหลม ซึ่งนอกจาก 2 สาเหตุ ข้างต้น (เรื่องทางกลไกของไดรเวอร์และเรื่องของคาปาซิเตอร์) แล้ว อีกสาเหตุหนึ่ง คือต้องรอให้อุณหภูมิของลวดวอยซ์คอยล์ร้อนถึงระดับที่เขาออกแบบไว้ ความร้อนของตัวนำมีผลต่อ ค่าความต้านทาน ทำให้โหลดอิมพีแดนซ์แตกต่างไป หากอยากจะฟังคุณภาพเสียงอย่างที่คนออกแบบเขาฟังก็ควรจะรอสักหน่อยอย่างที่บอก หากไฟในห้องฟังหรี่แสงลงมาได้ก็ควรจะทำ สำหรับการฟังอย่างพิถีพิถันแล้ว การเกลี่ยแสงไฟหน้า ลำ โพงกับหลังลำโพงให้กลมกลืนกัน จะทำให้การรับรู้ด้านอิมเมจและซาวนด์สเตจชัดเจนยิ่งข้ึน ไม่ควรให้แสงไฟไปจับอยู่ท่ีตัวลำโพงโดยตรง (อย่างโชว์รูมทั่ว ๆ ไป หรือตามงานโชว์ชอบทำกัน) เพราะจะทำให้รู้สึกถึงการคงอยู่ของลำโพงยิ่งขึ้น

 

หากหรี่ไฟไม่ได้ก็ลองหลับตาลงมา ก็จะพบว่าสามารถสัมผัสถึงอิมเมจ/ซาวนด์สเตจได้ดีขึ้น เพราะการ ตัดประสาทการรับรู้ไปส่วนหนึ่ง ก็จะทำให้เรามีสมาธิในการรับรู้จากประสาทที่เหลือได้ดีขึ้น

Stereo Advice สภาพแวดล้อมของการฟัง
โดย คุณอภินันท์ นิตยสารสเตอริโอ