Stereo Advice การจัดชุดเครื่องเสียง

Stereo Advice การจัดชุดเครื่องเสียง โดย คุณอภินันท์ นิตยสารสเตอริโอ วิธีการจัดชุดเครื่องเสียงมีเกณฑ์ (จริง ๆ คือข้อจำกัด) ในการเลือกเครื่อง ลำโพง ตลอดจนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ อยู่หลายเรื่อง บางคนก็เน้นที่งบประมาณที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้เลย บ้างก็รูปลักษณ์ต้องมาก่อน ตั้งโจทย์ไว้ล่วงหน้า ขนาดเจอลำโพงที่ให้เสียงถูกอกถูกใจทุกอย่าง แต่ไม่ซื้อเพราะเขาไม่มีสีดำเปียโน! หรือบางคนก็ตีกรอบไว้เลยว่าต้องลำโพงตั้งพื้นเท่านั้น ตัวเล็ก ๆ บาง ๆ บางบนขาตั้งไม่ชอบ อีกหลายคนเน้นเรื่องทางเทคนิค กำลังขับ อิมพีแดนซ์ การแม็ทชิ่งกัน กราฟตอบสนอง อีกสารพัดตัวเลข ส่วนใหญ่ที่อยากไปทางลัดก็ไปถามเซียนพวกคอลัมนิสต์ นักเขียน นักทดสอบทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เขาเหล่านี้มักจะมีสูตรสำเร็จในการจัดชุดอยู่ ต่างคนก็ต่างสไตล์ ที่สำคัญแต่ละคนล้วนแต่ “อีโก้ (Ego) สูงมั่ก ๆ ” ดูเหมือนทุกคนจะลืมเรื่องสำคัญไปอย่างหนึ่ง นั่นคือเราซื้อเครื่องเสียงมาสำหรับฟังดนตรี และการฟังของแต่ละคนนั้นมีความชอบ (Preference) ไม่เหมือนกัน นักเล่นเครื่องเสียง/โฮมเธียเตอร์ ทุกคนต่างมีความชอบส่วนตัวในเรื่องของการฟังทั้งสิ้น ขึ้นกับว่าใครจะชื่นชอบเอนเอียงในทางหนึ่งทางใดมากกว่ากัน ลักษณะความชื่นชอบและชุดเครื่องเสียงที่เหมาะสมกับความชื่นชอบนั้น ๆ พอแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ… Continue reading Stereo Advice การจัดชุดเครื่องเสียง

Published
Categorized as ARTICLE

เลือกจุดตัดความถี่ให้ RioBass ตรงไหนดี?

เลือกจุดตัดความถี่ให้ RioBass ตรงไหนดี? XAV RioBass มีสวิซต์ปรับแต่งเสียงของซับวูฟเฟอร์เพื่อให้เสียงกลมกลืนกับลำโพงเล็ก สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยม ตามสไตล์ดนตรีถึง 3 รูปแบบ       ด้วยการออกแบบและการทดสอบอย่างเข้มข้น จนได้จุดตัดความถี่ 3 จุดคือ 85, 95 และ 105 Hz ทั้งสามจุดตัดให้อะไรแตกต่างกันบ้าง นอกจากจุดตัดที่แตกต่างกัน เฟสของคลื่นเสียงที่ออกจาก RioBass ก็จะมีความแตกต่างกันด้วย ส่วนเฟสของคลื่นเสียงจะเสริมหรือหักล้าง กับลำโพงคู่หลักกันอย่างไร ต้องทดลองฟังดูว่าแต่ละจุดตัดว่าชอบจุดไหนมากกว่ากัน และผลของการเสริมหรือหักล้างกันนี้ จะมีผลไปยังเสียงความถี่ย่านกลางต่ำด้วย ซึ่งจะมีผลต่อ Tonal Balance ทำให้มีความไพเราะที่แตกต่างกันไป ฉะนั้นแล้วหากถามว่าจุดตัดใดดีที่สุด รสนิยมของผู้เป็นเจ้าของจะเป็นตัวกำหนดว่าจะตัดอยู่ที่จุดใด ถ้าเลือกจุดตัดความถี่ได้ถูกต้อง เสียงร้องของนักร้องทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะฟังดูเป็นธรรมชาติ มีบอดี้มากขึ้น ถ้าเสียงร้องบางลงแสดงว่าจุดตัดต่ำเกินไป ในทางกลับกันถ้าเสียงร้องหนาเกินเสียงช่วงความถีต่ำและความถี่สูงสูง และเสียงร้องเบลอร์ ขุ่นมัวแสดงว่าตั้งจุดตัดไว้สูงเกินไป เมื่อได้ความถี่จุดตัดที่เหมาะสมแล้ว การขยับลำโพงเล็กเดินหน้า ถอยหลัง เพื่อปรับอะคูสติกส์เฟสของลำโพงทั้งคู่ให้เข้ากันให้เช็คจาก โฟกัสของเสียงร้องเป็นหลัก อิมเมจของเสียงร้องต้องมีความชัดเจน มีทรวดทรง มีขนาดที่สมดุลย์กับเสียงดนตรี หรือหากตรวจเช็คจากอิมเมจ/ซาวนด์สเตจด้านลึกก็ได้ ถ้าปรับได้ถูกต้องตำแหน่งเสียงดนตรีและเสียงร้องจะหลุดเป็นอิสระจากตู้ลำโพง… Continue reading เลือกจุดตัดความถี่ให้ RioBass ตรงไหนดี?

สภาพแวดล้อมของการฟัง

สภาพแวดล้อมของการฟัง Listening environment เราคงเคยเห็น ภาพของนักเล่นเครื่องเสียง นั่งหลับตา ตัวตรง คอแข็ง ฟังเพลงตามงานแสดงเครื่องเสียงจนชินตา ดูเหมือนเขาจะทุ่มเทความสนใจ ทั้งหมดลงไปกับเสียงที่เกิดขึ้นตรงหน้า ผมเคยกระซิบถามเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งมีมาดของนักฟังอย่างย่อหน้า ข้างบนนี้ว่า “เฮ้ย! คุณฟังอะไรกัน ตั้งนานสองนาน?” ปรากฏว่าเขาตอบกลับมา “อย่าเอ็ดไป เดี๋ยวเขาจะดูถูกเอาว่าฟัง ไม่เป็น” ผมเลยถึงบางอ้อว่า คนฟังเป็นต้องมีมาดอย่างนั้น ก็เลยถามต่อ “ว่าแต่ว่าฟังอะไรออกไหม?” “โอ้ย! เสียงรบกวนมากจะตาย ขนาดนั้น ใครจะฟังอะไรออก” “อ้าว?” การฟังในงานแสดงเครื่อง เสียงส่วนใหญ่จึงเป็นแค่ฟังพอเป็น แนวทางเท่านั้น สัญญาณรบกวนจาก เสียงความถี่ต่ำจากห้องข้าง ๆ จากเสียงพูดคุยจ้อกแจ้ก จอแจ รอบข้างที่เรียกว่า Ambient Noise มักดังเกินกว่า 60 dB ในระบบเครื่องเสียงชั้นดี ส่วนใหญ่มักฟังกันที่ไดนามิคเรนจ์ (คือช่วงระดับความดังระหว่างความดังต่ำ สุดกับสูงสุดที่เราได้ยิน ไม่ใช่ระดับความสุงสูงสุด ซึ่งเรียกกันว่า “Head room”) ประมาณ 90 dB… Continue reading สภาพแวดล้อมของการฟัง

Stereo Advice ลำโพงเล็ก

Stereo Advice ลำโพงเล็ก โดย คุณอภินันท์ นิตยสารสเตอริโอ ลำโพงเล็กคู่ละหลายหมื่น หลายแสน หรืออาจถึงหลักล้านบาท เรื่องราคาถูกหรือเรื่องระหยัดคงไม่ใช่ประเด็น ถ้าอย่างนั้นลำโพงเล็กราคาไม่ธรรมดาเหล่านั้นมีดีอะไรถึงมัดใจผู้เล่น โดยไม่กังวลว่าพรรคพวกเพื่อนฝูงจะแซว “แหม…ลำโพงคู่นี้ของพี่ไม่ใช่มีเงินอย่างเดียวแล้วจะซื้อได้นะ?…” “…มันต้องมีความโง่ด้วย!!” ที่ควรได้ แม้มีข้อจำกัดด้านความถี่ต่ำที่อาจทำให้ขนาดของซาวนด์สเตจ ระดับความดัง ความเต็มอิ่มของเสียงกับดนตรีบางประเภทนั้นสู้ลำโพงใหญ่ไม่ได้ แต่ข้อดีของลำโพงเล็กชั้นดีที่ลำโพงใหญ่ ๆ ทำไม่ได้คือ สมรรถนะทางด้านการให้สเตอริโออิมเมจที่ชัดเจนเป็นอิสระ ตำแหน่งของเสียงดนตรีแต่ละชิ้นหรือตำแหน่งของเสียงร้อง จะปรากฏขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของห้องฟัง เป็นอิสระไปจากตำแหน่งลำโพง เหมือนเสียงไม่ได้ออกมาจากลำโพง แต่มันดังขึ้นมาเองในอากาศ ในที่ว่างรายรอบลำโพง ตำแหน่งของเสียงอาจถอยหลังลึกไปจากแนวของตู้ลำโพงหลาย ๆ เมตร บางครั้งเหมือนเสียงนั้นดังมาจากนอกห้องฟังด้วยซ้ำไป ความเป็นอิสระของตำแหน่งเสียงนี่เองที่เป็นจุดเด่นพิเศษของลำโพงเล็ก นอกจากนั้นความโปร่ง ความสะอาด ความกังวาน ความคึกคักสดใส รวมทั้งความกลมกลืนของเสียงในช่วงกลางแหลมก็เป็นจุดเด่นของลำโพงเล็กอย่างยากที่ลำโพงใหญ่ ๆ ทั่วไปจะสู้ได้ ข้อดีในความเล็ก นักเล่นผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งเคยบอกว่า “ความมหัศจรรย์มักมีในลำโพงเล็กเสมอ…” ในความเล็กของลำโพงเล็กนั้นมีข้อได้เปรียบ มีผลพลอยได้จากความเล็กอยู่หลายประการ ซึ่งล้วนแต่ส่งเสริมให้บรรลุถึงคำว่า “มหัศจรรย์” การกระจายเสียงแนวราบ ลำโพงเล็กจะมีตู้ลำโพงขนาดเล็ก (แหงล่ะ) มีแผงหน้าตู้ที่แคบ ไม่เกะกะการกระจายเสียงทางด้านข้าง เสียงส่วนใหญ่ที่ออกมาจากไดรเวอร์สามารถกระจายออกไปรอบตัวตู้ลำโพง… Continue reading Stereo Advice ลำโพงเล็ก

Published
Categorized as ARTICLE

สาระสเตอริโอ ก่อนเลือกลำโพง

สาระสเตอริโอ ก่อนเลือกลำโพง โดย คุณอภินันท์ นิตยสารสเตอริโอ สเตอริโอเรามีฉบับ “ลำโพง” กับเขาประมาณปีละครั้ง ปีนี้ครั้งแรกตั้งใจจะขอเป็นผู้อ่านอย่างเดียว แต่ได้มีพรรคพวกที่เข้ามาที่สำนักงานบอกว่า จะไม่เขียนอะไรสักหน่อยเหรอ? ผมบอกว่าผมหมดมุข หมดแรงบันดาลใจ เขาก็บอกว่า ให้เขียนวิธีเลือกลำโพงนั่นแหละ เรื่องง่าย ๆ ที่คนอ่านจะได้ประโยชน์ ผมมานึกดู เวลาเราไปถามกับผู้เชี่ยวชาญว่า อยากได้ลำโพงสักคู่ เขาจะถามว่าห้องขนาดเท่าไร? แอมป์ขนาดเท่าไร? ฟังเพลงแบบไหน? เป็นคำถามที่เป็นสูตรสำเร็จของผู้เชี่ยวชาญเขา แต่ยังไม่เคยมีใครถามกลับมาเลยว่า “พี่ชอบลำโพงแบบไหนล่ะ?” เพราะจริง ๆ แล้วคนที่กำลังหาลำโพงนั้น เกือบทั้งหมดมีลำโพงที่เล็ง ๆ ไว้แล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่ามือใหม่ที่ชอบลำโพงวางพื้นจะไม่ชอบลำโพงวางขาตั้ง หรือคนที่ชอบลำโพงวางขาตั้งก็จะไม่ชอบลำโพงวางพื้น เรียกว่าตัดสินใจมาตั้งแต่ออกจากบ้านแล้ว คราวนี้เลยตั้งใจบอกให้ทราบกันล่วงหน้าว่า หากชอบลำโพงเล็ก วางขาตั้ง เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง? หรือชอบลำโพงใหญ่ ๆ ตั้งพื้น ต้องเตรียมอย่างไรบ้าง? ลำโพงวางขาตั้ง (ลำโพงเล็ก) ลำโพงเล็กจะจำกัดขนาดของไดรเวอร์เบส/มิดเรนจ์เอาไว้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5-7 นิ้ว และเป็นตู้แบบวางขาตั้ง (Stand Mounted) ที่เรียกกันในยุคนี้… Continue reading สาระสเตอริโอ ก่อนเลือกลำโพง

Published
Categorized as ARTICLE

ปัญหาสเตอริโอ ลำโพงเล็ก ลำโพงใหญ่

ปัญหาสเตอริโอ ลำโพงเล็ก ลำโพงใหญ่ โดย คุณอภินันท์ นิตยสารสเตอริโอ Q : ขาตั้งกับลำโพงเล็กมีความสำคัญอย่างไร? A : ลำโพงเล็กชั้นดีต้องการขาตั้งที่เหมาะสม ความแข็งแรงมั่นคงนั้นแน่นอนอยู่แล้วจำเป็นเป็นอันดับแรก หากลำโพงอยู่บนฐานที่ไม่นิ่งจริง ๆ แล้ว มันก็จะไม่สามารถให้เสียงที่คมชัดได้ การสั่นไหวของไดอะแฟรมนั้นเป็นความละเอียดขนาดที่ตามองไม่เห็น หากตู้ขยับ ขาตั้งโยกเยก ก็จะทำให้ไปรบกวนการทำงานของไดอะแฟรมให้เกิดความผิดพลาด อิมเมจจะพร่ามัว ความฉับพลันจะสูญหายไป เบสส์จะไม่มีความแน่น และขาดแรงปะทะ แต่นอกเหนือจากนั้น ขาตั้งยังทำหน้าที่ให้ความสูงกับลำโพงเล็ก หลายคนเชื่อว่าทวีตเตอร์ควรอยู่ในระดับเดียวกับหูของผู้ฟัง ความเชื่อน้สืบเนื่องมาจากทวีตเตอร์ เมื่อก่อนนี้มมุมการกระจายเสียงที่แคบมาก หากไม่สูงพอดีกับระดับหูแล้วจะไม่ได้ยินเสียงแหลมที่ชัดเจนนัก ปัจจุบันนี้ทวีตเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มีมุมกระจายเสียงที่กว้างขึ้นมาก ไม่ต้องเอาทวีตเตอร์ไว้ที่ระดับหูโดยตรงก็สามารถให้เสียงที่ชัดเจนได้ อย่างไรก็ตามความสูงที่เหมาะสมยังเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะตรงจุดตัดแบ่งความถี่นั้น ลักษณะของการกระจายเสียงจะมีรูปแบบพิเศษ ไม่สม่ำเสมอนัก มีแนวที่เสียงโด่งขึ้นมา และแนวเสียงบอดลงไป แทนที่จะให้ลักษณะการกระจายเสียงที่มีความดังสม่ำเสมอออกมาเป็นวงกลมรอบตัว ที่จุดตัดแบ่งความถี่นั้นมีเสียงออกมาทั้งจากทวีตเตอร์และวูฟเฟอร์พร้อม ๆ กันจากตำแหน่งที่ต่างกัน ประกอบกับวงจรตัดแบ่งความถี่จะทำให้ทวีตเตอร์และวูฟเฟอร์มีความแตกต่างทางเฟสกันอีก ทำให้ผลรวมของเสียงมีทั้งเสริมกันและหักล้างกัน อาจเสริมกันจนโด่งขึ้นมาและหักล้างกันจนหายไป เมื่อมุมกระจายเสียงไม่สม่ำเสมอ ความสูงของลำโพงเมื่อเทียบกับหูจึงมีความสำคัญมาก อาจทำให้แนวที่มีการตอบสนองที่โด่งหรือบอดมาเล็งเข้าสู่ผู้ฟังได้(เรื่องของลักษณะการกระจายเสียงในแนวดิ่ง ณ จุดตัดแบ่งความถี่นี้มีความสำคัญมากในการออกแบบลำโพงและมีรายละเอียดมากที่ผมไม่สามารถจะเขียนให้ท่านเข้าใจได้ในโอกาสนี้ เพราะจะเป็นเรื่องยาวและต้องใช้พื้นฐานทางการคำนวณไม่น้อยเลย ขอข้ามไปก่อนนะครับตรงนี้)… Continue reading ปัญหาสเตอริโอ ลำโพงเล็ก ลำโพงใหญ่

Published
Categorized as ARTICLE

อ่านเอาเรื่อง LS3/5A ตำนานตัวน้อย ๆ

อ่านเอาเรื่อง LS3/5A ตำนานตัวน้อย ๆ โดย นภดล บุญบันดาล นิตยสารสเตอริโอ ข้อมูลของบทความนี้ทีแรกกะว่าจะใช้เนื้อหาหลัก ๆ จาก บทความของ Trevor Butler ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร HiFiNews ในปี 1990 ซึ่งก็เอาเนื้อหาสาระมาจาก รายงานของ BBC เสนอโดย H.D. Harwood/ M.E.Whatton และ R.W.Mills ในหัวข้อว่า The design of the miniature monitoring loudspeaker type LS3/5A ตามต่อเนื่องด้วยบทความจากนิตยสาร Stereophile ที่เขียนโดย J.Gordon Holt/ John Atkinson และคนอื่น ๆ อีก แล้วยังมีอีกนิดหน่อยจากนิตยสาร The Absolute Sound และแหล่งที่หาได้จากเว็บไซท์ต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากหลายแหล่งเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่นักเล่นนักฟังจำนวนมากกล่าวถึงกัน มีทั้งความจริงและบางส่วนก็ว่าต่อ… Continue reading อ่านเอาเรื่อง LS3/5A ตำนานตัวน้อย ๆ

Published
Categorized as ARTICLE

ลำโพง…เรื่องน่ารู้

ลำโพง…เรื่องน่ารู้  โดย อภินันท์ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารสเตอริโอ ลำโพงเป็นอิเลคโตรแม็ค คานิคอล ทรานส์ดิวเซอร์ (Electro mechanical Transducer) เปลื่อนพลังงานไฟฟ้าไปเป็นการสั่นไหวทางกล เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง เพราะรูปร่างหน้าตาของลำโพงไม่เห็นจะเหมือนเครื่องดนตรีหรือนักร้องเลย แต่กลับทำเสียงได้สารพัด และทั้ง ๆ ที่ใช้หลักการการออกแบบอันเดียวกัน มิหนำซ้ำอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบกันขึ้น มาก็น้อยชิ้นกว่าอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่น ๆ แค่ดอกลำโพง ตู้ และวงจร เน็ทเวิร์ค แต่ลำโพงทั้งหลายกลับให้เสียงที่แตกต่างกันมากที่สุด สามารถ ฟังออกถึงความแตกต่างง่ายกว่าอปุกรณ์เครื่องเสียงชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเราไม่ได้อยู่บนโลกของอุดมคติมีปัจจัย และคุณสมบัติเฉพาะตัวอีกมากมาย ที่จะเป็นตัวชี้ว่าลำโพงนั้น ๆ น่าจะมีคุณภาพเสียงที่ดีมากน้อยแค่ไหน ต่อไปนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ก่อน การเลือกซื้อลำโพงสักคู่หนึ่ง เพื่อที่จะเลือกลำโพงให้ถูกคู่ ถูกความต้องการ ถูกกับงบประมาณและความชื่นชอบส่วนตัว กี่ทางดี? ในลำโพงที่มีอยู่จำนวนมาก รุ่นในท้องตลาด มีเกณฑ์ในการแบ่ง แยกอยู่หลายแบบหลายอย่าง การแบ่งการออกแบบโดยใช้การตัดแบ่งความถี่เป็นเกณฑ์ (ไม่ใช่จำนวนไดรเวอร์นะครับ เพราะบางครั้ง ไดรเวอร์ 4-5 ตัว แต่เป็นแค่ลำโพง 3 ทางหรือไดรเวอร์ 3… Continue reading ลำโพง…เรื่องน่ารู้

Published
Categorized as ARTICLE

อ่านเอาเรื่อง หน้าต่างที่เปิดกว้าง(ซับวูฟเฟอร์)

อ่านเอาเรื่อง หน้าต่างที่เปิดกว้าง(ซับวูฟเฟอร์) โดย นภดล บุญบันดาล นิตยสารสเตอริโอ หน้าต่างยิ่งกว้างเรายิ่งเห็นภาพได้กว้าง หน้าต่างยิ่งใสเรายิ่งเห็นภาพได้ชัดเจนถูกต้อง เราอาจจะได้เห็นทั้งสิ่งที่ต้องการเห็นและสิ่งที่ไม่ต้องการ บางคนพอใจหน้าต่างแคบ ๆ และติดฟิล์มบังแสงไว้เพราะไม่พร้อมจะรับภาพที่แท้จริง ส่วนผู้ที่รักความจริงย่อมได้รับประโยชน์จากหน้าต่างที่กว้างและใสสว่าง เปิดให้กว้างทำให้ใสเท่าที่จะทำได้แล้วสัมผัสกับภาพที่ได้เห็นให้เต็มที่ ลำโพงเปรียบเสมือนหน้าต่างบานสุดท้ายของระบบเครื่องเสียงที่เปิดออกให้เราได้สัมผัสกับเสียงดนตรี ในฉบับนี้เรามาคุยกันถึงส่วนล่างของหน้าต่างที่ไม่ค่อยได้ถูกเปิดออก เปิดแล้วจะพบช่วงความถี่ต่ำ ๆ ที่หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคย หน้าต่างส่วนล่างนี้เป็นหน้าต่างพิเศษที่ทั้งหนา และหนักเปิดออกยากและต้องดูแลด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อจัดการได้แล้วก็เหมือนว่ามันได้เปิดมิติใหม่ให้เราได้เห็นสิ่งที่เคยอยู่ในความคลุมเครือ หน้าต่างบานนี้คือซับวูฟเฟอร์นั่นเอง ภาพที่เราได้เห็นจากหน้าต่างที่ว่านั้นก็คือเสียงดนตรีที่ลำโพงสร้างขึ้นมา เป็นเสียงดนตรีทั้งหมดตามที่นักดนตรีทั้งวงเขาเล่นรวมทั้งเสียงของบรรยากาศรอบ ๆ และเสียงทั้งหมดตามบทตามตอนของภาพยนต์ตั้งแต่เสียงพูดเสียงคุย เสียงกระซิบไปจนถึงซาวนด์เอฟเฟ็คท์ทั้งหลาย ลำโพงต้องรับภาระหนักมากเหลือเกินลำโพงอะไรจะทำได้ขนาดนั้น สร้างเสียงของวงดนตรีทั้งวง สร้างเสียงของสถานะการณ์ทั้งหลายเมื่อเล่นโฮมเธียเตอร์ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือย่านเสียงกลาง หน้าที่หลักของลำโพงทั้งหลายคือต้องสร้างเสียงย่านกลาง ๆ ให้ดีเป็นอันดับแรก คุณภาพอาจยิ่งหย่อนกว่ากันบ้างในคุณภาพระดับที่สุดของที่สุด ความถี่ย่านบนสุดและล่างสุดจำยอมว่ามีข้อจำกัดทำดีเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพงสองทางหรือใช้ไดรเวอร์เพียงสองตัวเพื่อสร้างเสียงทั้งย่าน วูฟเฟอร์ต้องรับผิดชอบตั้งแต่ราว ๆ 2000 Hz ลงมาถึงช่วงต่ำสุด ในการออกแบบต้องมีการประนีประนอมละทิ้งเบสต่ำ ๆ ไปเพื่อเอาเบสบน ๆ และเสียงกลางไว้ ถึงแม้จะเป็นลำโพงสามทางวูฟเฟอร์ก็ยังต้องทำงานในช่วงความถี่กว้างมากอยู่ดี ถ้าหากให้มันเอาดีในด้านความถี่ต่ำมาก ๆ ตั้งแต่ 20 Hz เป็นต้นไปพร้อมกับเบสย่านกลางและสูงขึ้นไปถึงจุดตัดแบ่งความถี่ซึ่งมักจะเป็นราว… Continue reading อ่านเอาเรื่อง หน้าต่างที่เปิดกว้าง(ซับวูฟเฟอร์)

Published
Categorized as ARTICLE

อ่านเอาเรื่อง พัฒนาการของลำโพง

ÍèÒ¹àÍÒàÃ×èͧ_¾Ñ²¹Ò¡ÒâͧÅÓâ¾§

อ่านเอาเรื่อง พัฒนาการของลำโพง โดย นภดล บุญบันดาล นิตยสารสเตอริโอ ในยุคเริ่มต้นที่ผมเริ่มสนใจจริงจังกับเครื่องเสียง และคิดจะซื้อหามาครอบครองนั้น อยู่ในราว ๆ ช่วงต้นของปี 1980s ตอนนั้นลำโพงที่เป็นขาใหญ่อยู่ใคร ๆ ก็รู้จักกันทั่วไปก็จะเป็น AR-Acoustic Research และ JBL ถือว่าเป็นผู้นำของค่ายลำโพงตู้ปิดและลำโพงตู้เปิดตามลำดับ ที่จริงแล้วผู้ผลิตรายอื่น ๆ ก็มีอีกหลายเจ้าครับ แต่อาจจะไม่ค่อยรู้จักกันดีนักสำหรับคนทั่ว ๆ ไปเช่น KLH Polk Infinity ฯลฯ ต้องเป็นพวกนักเล่นสักหน่อยถึงจะรู้จัก ในยุคนั้นลำโพงจากอเมริกามักจะใช้ขอบทำด้วยโฟมซึ่งจะมีอายุราว ๆ 4 ปี ลำโพงจากอังกฤษมักจะใช้ขอบทำด้วยยาง หรือยางสังเคราะห์ที่เชื่อกันว่าอายุใช้งานยืนยาวกว่าโฟม ซึ่งมักจะเปื่อยยุ่ยไปเอง ลำโพงจากญี่ปุ่นก็มีขายแต่ถือว่าเป็นของแบบใช้แล้วไม่เท่ ประเด็นสำคัญที่คนสนใจกันถกเถียงกันคือข้อดี/ข้อเสียของระหว่างระบบตู้เปิด ที่เรียกว่า Bass Reflex หรือ Vented Box และตู้ปิดที่เรียกว่า Acoustic Suspension หรือ Closed Box ตอนนั้นการออกแบบลำโพงตู้เปิดยังไม่เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งนัก ต้องคำนวณกันยุ่งยากหลายรอบกว่าจะได้ผลจำลองเรียกว่า simulation… Continue reading อ่านเอาเรื่อง พัฒนาการของลำโพง

Published
Categorized as ARTICLE